วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้

องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้

              อุษา คงทอง และคณะมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
(http://acad.vru.ac.th/pdf-handbook/Hand_Teacher.pdf.pdf) ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ ไว้ว่า
       องคประกอบของการจัดการเรียนรู้ผู้สอนจําเป็นจะต้องศึกษาจากข้อมูลหลายประการเพื่อนํามาช่วยเสริมสร้างการจัดการเรียนรูของตนและการเรียนรู้ของผูเรียนการจัดการเรียนรู้ไม่ว่าระดับใดก็ตามขึ้นอยูกับองคประกอบ 3 ประการคือ
1.ผู้เรียน
2.บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออํานวยตอการเรียนรู้
3.ปฏิสัมพันธระหวางผูเรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน
ถ้าองคประกอบของการจัดการเรียนรูทั้ง 3 ประการนี้ดําเนินไปไดดวยดีจะทําใหผูเรียน ประสบความสําเร็จในการเรียนรูไดอยางมาก องคประกอบดังกลาวมีรายละเอียดดังนี้
       1. ผูเรียน ธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องคํานึงถึงเป็นอันดับแรกเกี่ยวกับ ความสามารถทางสมอง ความถนัด ความสนใจ พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ความตองการพื้นฐานเปนสิ่งที่ผูสอนจะตองคํานึงถึง และจะละเลยไมได
       2. บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออํานวยตอการเรียนรู ผู้สอนเป็นส่วนที่สําคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่จะกําหนดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เป๋นไปในรูปแบบที่ต้องการ ความเป็นประชาธิปไตย ความเคร่งเครียด ความชื่นบานของ ผู้เรียน สิ่งเหลานี้จะเกิดขึ้นไดโดยผูสอนเปนผูกําหนด แต่ถึงกระนั้นก็ตามบรรยากาศในชั้นเรียน ยังมีองคประกอบอื่นๆอีกนอกเหนือไปจากตัวผูสอน คือ ผูเรียนเขาชั้นเรียนโดยไมไดรับประทาน อาหารเชา หรืออาหารกลางวัน ผูเรียนเริ่มเรียนชั่วโมงแรกดวยความรูสึกหิวหรือบางครั้งผูเรียน ไดรับสิ่งกระทบกระเทือนใจติดตามมาเนื่องจากความไม่ปรองดองในครอบครัว เป็นต้น ส่วนทางด้านตัวผู้สอนนั้นอาจจะมีความกดดันจากฝ่ายบริหารหรือจากครอบครัว เศรษฐกิจ
อาหารเช้าก่อนมาสถานศึกษาของผู้สอนมีเพียงน้ําแก้วเดียวเทานั้น สิ่งที่นํามาก่อนเหล่านี้ เกิดขึ้นก่อนที่ผู้สอนและผู้เรียนจะมาพบกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะบอกได้ว่าบรรยากาศทางจิตวิทยา ในชั้นเรียนที่เอื้ออํานวยตอการเรียนรูจะปรากฏออกมาในรูปแบบใด
        3. ปฏิสัมพันธระหวางผูเรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน ปฏิสัมพันธระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจะเป็นเครื่องชี้บ่งถึงเงื่อนไขหรือสถานการณ์ ว่าผู้เรียนจะประสบความสําเร็จ หรือความล้มเหลวต่อการเรียนรู้ ผู้สอนควรจะคิดถึงผู้เรียน ในฐานะเป๋นบุคคลหนึ่ง ผู้เรียนมีสิทธิที่จะไดรับความต้องการพื้นฐาน และผู้สอนจะตองหากลวิธี ที่จะตอบสนองต่อความตองการพื้นฐานของผู้เรียนใหมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และผู้สอนควรจะ ฝึกให้มีความรูสึกไวต่อความรูสึกนึกคิดของผู้เรียนเพื่อความสําเร็จแห่งการเรียนรู้และ การเจริญเติบโตเปนบุคคลที่สมบูรณตอไป

            ไพศาล  หวังพานิช (http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-1.html) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ ไว้ว่า
             การสอนเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา  เพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลตามที่มุ่งหวังไว้  คุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่เพียงใดนั้นย่อมเป็นผลโดยตรงจากการสอนเป็นประการสำคัญ  ดังนั้นในการสอนแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาวิชาใดก็ตาม ควรจะมีองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนดังนี้
        1. จุดมุ่งหมายการสอน  ก่อนจะเริ่มต้นสอนครูผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตร  แล้วกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนว่า  หลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว  ครูผู้สอนประสงค์จะให้นักเรียนเรียนรู้อะไรบ้าง  และมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง  จุดมุ่งหมายในการสอนควรกำหนดให้อยู่ในรูปของจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม(Behavioral  Objectives) ซึ่งสามารถสังเกตได้และวัดได้
        2. พฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียน ก่อนที่ครูจะทำการสอนในเรื่องใด หากครูได้ทราบสภาพพื้นฐานของผู้เรียนก่อน ก็จะทำให้สามารถจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่
        3. การเรียนการสอน  เป็นขั้นตอนที่ครูจะทำการสอนในเนื้อหาวิชาจริง ๆ ครูผู้สอนอาจเลือกใช้เทคนิควิธีสอนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัย  และสภาพพื้นฐานของผู้เรียน  โดยคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหาวิชาด้วยว่า  จะแบ่งเนื้อหาวิชาเป็นหน่วยย่อยได้อย่างไร  หน่วยย่อยใดควรสอนก่อนหรือหลัง  และเนื้อหาในแต่ละหน่วยย่อยนั้นจะใช้อุปกรณ์ชนิดใดเข้าช่วย
        4. การวัดและประเมินผล  เป็นการตรวจสอบผลการเรียนการสอนเพื่อจะได้ทราบว่าภายหลังจากผ่านการเรียนการสอนแล้ว  ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ดีขึ้นเพียงไร  อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจหรือไม่โดยเทียบกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่ครูกำหนดไว้ก่อนการเรียนการสอน

               Ning_sced (http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ ไว้ว่า
        1. ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
        2. ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
        3. เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
        4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
        5. สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย


สรุป

จากการศึกษาองคประกอบของการจัดการเรียนรู้ข้างต้นสามารถสรุปองคประกอบการจัดการเรียนรู้ได้ 9 ประการคือ
          1.จุดมุ่งหมายการสอน  ก่อนจะเริ่มต้นสอนครูผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตร  แล้วกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนว่า  หลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว  ครูผู้สอนประสงค์จะให้นักเรียนเรียนรู้อะไรบ้าง  และมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง  จุดมุ่งหมายในการสอนควรกำหนดให้อยู่ในรูปของจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม(Behavioral  Objectives) ซึ่งสามารถสังเกตได้และวัดได้
          2. ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
           3. ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
           4. เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
           5. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
           6. การเรียนการสอน  เป็นขั้นตอนที่ครูจะทำการสอนในเนื้อหาวิชาจริง ๆ ครูผู้สอนอาจเลือกใช้เทคนิควิธีสอนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัย  และสภาพพื้นฐานของผู้เรียน  โดยคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหาวิชาด้วยว่า  จะแบ่งเนื้อหาวิชาเป็นหน่วยย่อยได้อย่างไร  หน่วยย่อยใดควรสอนก่อนหรือหลัง  และเนื้อหาในแต่ละหน่วยย่อยนั้นจะใช้อุปกรณ์ชนิดใดเข้าช่วย
            7.สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
           8.ปฏิสัมพันธระหวางผูเรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน ปฏิสัมพันธระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจะเป็นเครื่องชี้บ่งถึงเงื่อนไขหรือสถานการณ์ ว่าผู้เรียนจะประสบความสําเร็จ หรือความล้มเหลวต่อการเรียนรู้ ผู้สอนควรจะคิดถึงผู้เรียน ในฐานะเป๋นบุคคลหนึ่ง ผู้เรียนมีสิทธิที่จะไดรับความต้องการพื้นฐาน และผู้สอนจะตองหากลวิธี ที่จะตอบสนองต่อความตองการพื้นฐานของผู้เรียนใหมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และผู้สอนควรจะ ฝึกให้มีความรูสึกไวต่อความรูสึกนึกคิดของผู้เรียนเพื่อความสําเร็จแห่งการเรียนรู้และ การเจริญเติบโตเปนบุคคลที่สมบูรณตอไป
            9.การวัดและประเมินผล  เป็นการตรวจสอบผลการเรียนการสอนเพื่อจะได้ทราบว่าภายหลังจากผ่านการเรียนการสอนแล้ว  ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ดีขึ้นเพียงไร  อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจหรือไม่โดยเทียบกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่ครูกำหนดไว้ก่อนการเรียนการสอน


ที่มา

อุษา คงทอง และคณะมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.[Online]
                  http://acad.vru.ac.th/pdf-handbook/Hand_Teacher.pdf.pdf.คู่มือการจัดระบบการเรียน        
                  การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 10/07/ 2558.


ไพศาล  หวังพานิช.[Online] http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-                                   1.html.องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 10/07/ 2558.

Ning_sced.[Online] http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html.องค์ประกอบ 
            การจัดการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 10/07/ 2558.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น