วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้

       www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt  
ได้รวบรวมถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า
Richard  R. Bootsin  กล่าวว่า
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน   No  one  old  to  learn
การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น 


        เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน (http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm)
ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้สิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

        พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (2542:77) ได้กล่าวความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ (Learning) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น คนเราจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้เอง นักจิตวิทยา ครู อาจารย์ จึงให้ความสนใจเรื่องของการเรียนรู้เป็นอย่างมาก

        สรุป ความสำคัญของการเรียนรู้ได้ว่า  คนเรามีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต หรือปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม และ การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

    ที่มา :
www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt.การเรียนรู้
             สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2558.

เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน.
(ออนไลน์)
http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm.สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2558.

พงษ์พันธ์  พงษ์โสภา.(2542).จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.


  

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

          บ้านจอมยุทธ (http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html)นักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า
          คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
          ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์
          คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
          พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
          ประดินันท์ อุปรมัย (2540, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี,พิมพ์ครั้งที่ 15, หน้า 121) การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิมประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม

       วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99)
ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรมทักษะ คุณค่า หรือความพึงพอใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve)การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การศึกษาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology)จิตวิทยาการศึกษ (educational psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และศึกษาศาสตร์(pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา  การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้

       เสรี  วงษ์มณฑา (https://www.facebook.com/seri.wongmonta/posts/592724210766056?__mref=message_bubble)
ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เกิดได้ทุกที่ทุกเวลาทุกรูปแบบ แค่เปิดหูเปิดตาและอย่าลืมเปิดใจให้กว้างอย่างไร้อคติ ก็จะได้พบข้อมูลใหม่ที่ทำให้การตัดสินใจด้านทัศนคติและการกระทำของเราดีขึ้น


       สรุป  ความหมายของการเรียนรู้ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากประสบการณ์ของแต่ละคนโดยการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น เกิดจาก การศึกษา การพัฒนา การเรียนการสอน การฝึกฝน  โดยต้องมีการเสริมแรงด้วยการวางเป้าหมายหรือใช้แรงจูงใจเป็นตัวช่วย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น


       ที่มา :
เสรี  วงษ์มณฑา.[online] https://www.facebook.com/seri.wongmonta/posts/592724210766056?__mref=message_bubble.การเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 17 มิ.ย. 58.

http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html.จิตวิทยาการเรียนรู้.
                   เข้าถึงเมื่อ 17 มิ.ย. 58.

 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.การเรียน.เข้าถึงเมื่อ 17 มิ.ย. 58.